วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                  " การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการทำโดยลำพังไม่ได้ การยกระดับคุณภาพการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นกับทั้งระบบ และทั้งสังคมต้องมาร่วมมือกัน " การศึกษาต้องเป็นวาระแห่งชาติ" ดังนั้น ในนโยบายจึงได้ประกาศให้ปี ๒๕๕๖ เป็นปีแห่ง " การรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา" จึงจำเป็นที่จะต้องให้ทุกคน รวมทั้งสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นพลังขับเคลื่อนให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเรียนอย่างมีคุณภาพ สามารถคิด วิเคราะห์ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน จึงทำแบบแยกส่วนไม่ได้"
                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวโดยสรุปประเด็นเสวนา " รวมพลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่เวทีโลก" ดังนี้
             ๑.  สังคมไทยมีความตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา และต้องร่วมกันคิด วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนงานและแนวทางการขับเคลื่อน
                  ๒.  การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่และใช้เวลามากในการแก้ไข ทั้งนี้โลกปัจจุบันให้ความสำคัญในการกำหนดคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึง ประสงค์ โดยเฉพาะมุ่งเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น วิธีการจัดการเรียนการสอนของครูจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน
                  ๓.  ประเทศไทยไม่มีระบบการทดสอบกลางที่เป็นมาตรฐาน การประเมินผลคุณภาพการศึกษาจึงมักใช้ผลการประเมินจากต่างประเทศ เช่น PISA ดังนั้นจึงต้องสร้างเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศมาเป็นเครื่องมือใน การวัด และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการวางแผนกำหนดเป้าหมายการศึกษา
                  ๔. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดการใช้จ่ายงบประมาณได้ ทั้งนี้ งบประมาณด้านการศึกษาเทียบกับ GDP ของประเทศ พบว่า อยู่ในระดับที่สูงมาก แต่หากพิจารณางบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ดังนั้น ควรเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น รวมไปถึงควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อลด ภาระด้านงบประมาณ
                  ๕. ปัจจุบันครูไทยมีภาระที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน เช่น การบริหาร งานธุรการ งานเอกสาร กิจกรรมนอกโรงเรียน รวมทั้งการทำผลงานเพื่อประเมินวิทยฐานะที่เน้นระบบเอกสาร ดังนั้นควรให้ครูใช้เวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น ลดภาระในการบริหารจัดการให้น้อยลง รวมถึงการประเมินวิทยฐานะต้องพิจารณาเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์นักเรียน
                  ๖. การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมของผู้ปกครองกับการเรียนต่อในสายอาชีวศึกษา จะต้องมีการปรับค่าตอบแทนในตลาดแรงงานให้สอดคล้องผลิตภาพ (productivity) ที่เกิดขึ้นจริง มากกว่าการพิจารณาจากระดับการศึกษา ใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ นำประสบการณ์มาเทียบเคียงกับคุณวุฒิ และนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพมาเชื่อมโยงกับภาคเอกชน โดยกำหนดความต้องการกำลังคน และสนับสนุนให้เด็กที่จบ ม. ๓ แต่ไม่ได้เรียนต่อให้กลับเข้ามาเรียนในสายอาชีวศึกษา
                  ๗. การพัฒนาระบบดูแลเด็กเล็กในระดับก่อนปฐมวัย ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบดูแลให้มีประสิทธิภาพ ในขณะที่เด็กปฐมวัยจะต้องสร้างระบบทดสอบและระบบคัดกรองเด็กให้มีมาตรฐาน

                  ๘. การปฏิรูปการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยหลายฝ่าย ต้องทำให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ เป็นเรื่องที่ต้องระดมความเห็นทุกฝ่ายมาช่วยกันคิด สังคมต้องช่วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น: