จุดตั้งต้นของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
คือใคร?
การศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่อารยประเทศใช้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาประเทศ
เพราะการศึกษาสามารถพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพทัด เทียม
หรือสูงกว่านานาประเทศ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาถือเป็นประเด็นสำคัญในระดับต้นๆที่จำเป็นจะ
ต้องดำเนินการ โดยใครสักคนหรือมากกว่านั้น หากจะตอบว่าทุกภาคส่วนล้วนสำคัญเท่าเทียบกันทั้งสิ้น
ข้าพเจ้ากับมองว่าเป็นการตอบเร็วเกินไป และที่สำคัญคือคำตอบประเภทนี้ในมุมมองของข้าพเจ้าคิดว่า
เป็นการตอบที่ไม่ได้คิดไตร่ตรองอย่างละเอียด จากการวิเคราะห์และเสนอแนวความความคิดจาก
นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่ากลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย
ดังนี้
1. ครอบครัว โดยให้เหตุผลว่าครอบครัวจะต้องมีการเลี้ยงดูที่ดี เข้าใจพัฒนาการ และวางฐานการคิดให้กับคนในครอบครัว
2. ครู จะต้องมีการวิธีการสอนที่มีคุณภาพ
3. ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา พระราชบัญญัติ แผนพัฒนาการศึกษา
จากความคิดทั้ง 3 กลุ่ม จะได้ปิรามิดพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยดังภาพ
ในสังคมไทยปัจจุบันหากจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ “ครอบครัว” สถาบันการศึกษาแห่งแรกของเด็กไทยคงไม่ผิด หากแต่ประเด็นที่น่าสังเกตคือ
1. ในกรณีที่พ่อ แม่ในยุคปัจจุบัน มุ่งแต่งาน ไม่มีเวลาให้กับบุตรหลาน
2. ในกรณีที่พ่อ แม่มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
3 .ในกรณีที่พ่อ แม่ไม่มีความรู้ทางจิตวิทยาการศึกษา หรือวิชาครู
4. ในกรณีที่พ่อ แม่ เป็นผู้สนับสนุนการกระทำของลูกทุกอย่าง ไม่ว่าดีหรือชั่ว หรือเข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉัน
จากประเด็นดังกล่าว หากจะเริ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ ครอบครัวนี้ จำเป็นจะต้องทำให้ประชาชนที่เป็นพ่อ แม่ กินดีอยู่ดี มีเวลาให้กับครอบครัวก่อน ถึงจะสามารถดำเนินการฝึกอบรมการเลี้ยงลูก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ จึงถือเป็นเรื่องยากที่จะจัดการซึ่งจะต้องลงทุนทั้งด้านงบประมาณ บุคากร และเวลา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย หากจะเริ่มต้นในระดับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา
1. ครอบครัว โดยให้เหตุผลว่าครอบครัวจะต้องมีการเลี้ยงดูที่ดี เข้าใจพัฒนาการ และวางฐานการคิดให้กับคนในครอบครัว
2. ครู จะต้องมีการวิธีการสอนที่มีคุณภาพ
3. ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา พระราชบัญญัติ แผนพัฒนาการศึกษา
จากความคิดทั้ง 3 กลุ่ม จะได้ปิรามิดพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยดังภาพ
ในสังคมไทยปัจจุบันหากจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ “ครอบครัว” สถาบันการศึกษาแห่งแรกของเด็กไทยคงไม่ผิด หากแต่ประเด็นที่น่าสังเกตคือ
1. ในกรณีที่พ่อ แม่ในยุคปัจจุบัน มุ่งแต่งาน ไม่มีเวลาให้กับบุตรหลาน
2. ในกรณีที่พ่อ แม่มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
3 .ในกรณีที่พ่อ แม่ไม่มีความรู้ทางจิตวิทยาการศึกษา หรือวิชาครู
4. ในกรณีที่พ่อ แม่ เป็นผู้สนับสนุนการกระทำของลูกทุกอย่าง ไม่ว่าดีหรือชั่ว หรือเข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉัน
จากประเด็นดังกล่าว หากจะเริ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ ครอบครัวนี้ จำเป็นจะต้องทำให้ประชาชนที่เป็นพ่อ แม่ กินดีอยู่ดี มีเวลาให้กับครอบครัวก่อน ถึงจะสามารถดำเนินการฝึกอบรมการเลี้ยงลูก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ จึงถือเป็นเรื่องยากที่จะจัดการซึ่งจะต้องลงทุนทั้งด้านงบประมาณ บุคากร และเวลา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย หากจะเริ่มต้นในระดับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา
ผู้บริหารได้กำหนดนโยบายได้อย่างชัดเจน
แต่ผลลัพธ์ในปัจจุบันการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม เหตุที่เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้
1. การออกแบบแผนการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมสำหรับภาคปฏิบัติเป็นอย่างไร
2. ภาคปฏิบัติได้ดำเนินการจริงจังตามที่ภาคนโยบายกำหนดหรือไม่ อย่างไร หากดำเนินการแล้วไม่บรรลุเป้าหมาย มีการแก้ไขข้อบกพร่องอย่างไร
3. ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนของภาคปฏิบัติ หรือภาคปฏิบัติไม่ยอมรับข้อมูลจากภาคนโยบาย ในการเข้ารับการสัมมนา หรือการฝึกอบรม
4. ปัญหาด้านประชาสัมพันธ์ และการแพร่นวัตกรรมของภาคนโยบาย
เหล่านี้คือปัญหาสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน ดังนั้นหากจะตอบว่าขึ้นอยู่กับการนโยบาย โดยฝ่ายบริหารคงไม่ใช่คำตอบในเวลานี้ เนื่องจากการออกแบบระบบการจัดการศึกษา และวางนโยบายของภาคบริหารมีเป็นการวางแผนเพื่อยกระดับการศึกษาไทยมาตลอด
ประเด็นสุดท้าย การจะเริ่มต้น พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยครู ซึ่ง ถือว่าเป็นเสาหลักของการเรียนรู้ของนักเรียนไทย โดยภารกิจของครูคือผู้ปฏิบัติหน้าสอน เป็นผู้รับนโยบายจากภาคบริหารมาปฏิบัติโดยตรง ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับครูในการพัฒนาการศึกษาดังนี้
1. ครูไทยมีอายุมากขึ้น อ่อนกำลังลง และมีกำลังมาเสริมน้อยมาก
2. ระบบการผลิตครูที่ผ่านมาได้ผลิตเกินและผลิตอย่างไม่มีคุณภาพ
3. การผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง
4. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
5. การทุ่มเทให้กับการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูไม่เท่าที่ควร เนื่องจากครูมีภาระงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบในโรงเรียน
6. การพัฒนาครูสำหรับอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. การประกันคุณภาพการศึกษา
8. การวัดและประเมินผล
หากวิเคราะห์ปัญหาที่ หรือแรงเสียดทานที่จะพัฒนาการศึกษาโดยครูนั้น พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ ในเวลาอันสั้นโดยตัวครูเอง เช่น ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ครูก็สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาการสอนได้โดยไม่ยาก หากเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยส่วนอื่นก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยากเช่นกัน เช่น ปัญหาการผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง ภาครัฐอาจเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ความรู้เฉพาะด้านได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ครู ทั้งนี้จำเป็นจะต้องจัดฝึกอบรมวิชาชีพครู และจิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น
จากเหตุผลข้างต้น ในสภาพสังคมไทยยุคปัจจุบัน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเริ่มต้นที่ครู ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริหาร และครอบครัว ยังคงมีความสำคัญต่อระบบการจัดการศึกษาไทย หากแต่ควรเป็นการสนับสนุนภารกิจของครู เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ทัดเทียมอารยะประเทศ
1. การออกแบบแผนการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมสำหรับภาคปฏิบัติเป็นอย่างไร
2. ภาคปฏิบัติได้ดำเนินการจริงจังตามที่ภาคนโยบายกำหนดหรือไม่ อย่างไร หากดำเนินการแล้วไม่บรรลุเป้าหมาย มีการแก้ไขข้อบกพร่องอย่างไร
3. ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนของภาคปฏิบัติ หรือภาคปฏิบัติไม่ยอมรับข้อมูลจากภาคนโยบาย ในการเข้ารับการสัมมนา หรือการฝึกอบรม
4. ปัญหาด้านประชาสัมพันธ์ และการแพร่นวัตกรรมของภาคนโยบาย
เหล่านี้คือปัญหาสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน ดังนั้นหากจะตอบว่าขึ้นอยู่กับการนโยบาย โดยฝ่ายบริหารคงไม่ใช่คำตอบในเวลานี้ เนื่องจากการออกแบบระบบการจัดการศึกษา และวางนโยบายของภาคบริหารมีเป็นการวางแผนเพื่อยกระดับการศึกษาไทยมาตลอด
ประเด็นสุดท้าย การจะเริ่มต้น พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยครู ซึ่ง ถือว่าเป็นเสาหลักของการเรียนรู้ของนักเรียนไทย โดยภารกิจของครูคือผู้ปฏิบัติหน้าสอน เป็นผู้รับนโยบายจากภาคบริหารมาปฏิบัติโดยตรง ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับครูในการพัฒนาการศึกษาดังนี้
1. ครูไทยมีอายุมากขึ้น อ่อนกำลังลง และมีกำลังมาเสริมน้อยมาก
2. ระบบการผลิตครูที่ผ่านมาได้ผลิตเกินและผลิตอย่างไม่มีคุณภาพ
3. การผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง
4. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
5. การทุ่มเทให้กับการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูไม่เท่าที่ควร เนื่องจากครูมีภาระงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบในโรงเรียน
6. การพัฒนาครูสำหรับอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. การประกันคุณภาพการศึกษา
8. การวัดและประเมินผล
หากวิเคราะห์ปัญหาที่ หรือแรงเสียดทานที่จะพัฒนาการศึกษาโดยครูนั้น พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ ในเวลาอันสั้นโดยตัวครูเอง เช่น ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ครูก็สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาการสอนได้โดยไม่ยาก หากเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยส่วนอื่นก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยากเช่นกัน เช่น ปัญหาการผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง ภาครัฐอาจเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ความรู้เฉพาะด้านได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ครู ทั้งนี้จำเป็นจะต้องจัดฝึกอบรมวิชาชีพครู และจิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น
จากเหตุผลข้างต้น ในสภาพสังคมไทยยุคปัจจุบัน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเริ่มต้นที่ครู ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริหาร และครอบครัว ยังคงมีความสำคัญต่อระบบการจัดการศึกษาไทย หากแต่ควรเป็นการสนับสนุนภารกิจของครู เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ทัดเทียมอารยะประเทศ
แนวทางการพัฒนาการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ
เขต 4
จากสภาพปัญหาดังกล่าวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ
เขต 4 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ให้โรงเรียนดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และแม้แต่ตัวนักเรียนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ภายใต้หลักการสู่มาตรฐานสากล : โรงเรียนคุณภาพ 5 ดาว (
Five Stars School ) ดังนี้
ดาวที่ 1 สภาพแวดล้อม
ดาวที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ดาวที่ 3
ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ดาวที่ 4 คุณภาพผู้เรียน
ดาวที่ 5 การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
สถานศึกษามีความพร้อมด้านกายภาพ ความสะอาด ร่มรื่น และปลอดภัย
2.
สถานศึกษามีหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่น
มีการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้อย่างชัดเจน
3.
สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและยั่งยืน
4.
นักเรียนมีคุณภาพที่สูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น