สวัสดีปีใหม่
๒๕๕๖ พี่ น้อง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกท่าน
เนื่องในโอกาสดิถีขึ้นปีใหม่ ขออำนวยชัยให้ทุกท่านจงสุขขี
ประสบโชค ประสบชัย ไร้ราคี ได้พบแต่สิ่งดีดีที่ต้องการ
แคล้วคลาดพิบัติภัยและไร้ทุกข์ ทั้งมั่งมีศรีสุขสนุกสนาน
อุดมด้วยลาภยศสรรเสริญตลอดกาล จิตเบิกบานผ่องแผ้วด้วยแนวบุญ
หวังสิ่งใดให้สำเร็จสมประสงค์ เจตจำนงค์ที่ดีงามตามวิสัย
บารมีเพิ่มพูนตลอดไป อวยพรให้ทุกท่านสุขสำราญเทอญ.
แนวทางการจัดสรรเงินรายหัวให้กับนักเรียนในอนาคต
ขณะนี้เป็นช่วงการโอนเงินอุดหนุนรายหัวสำหรับภาคเรียนที่ 2/2555
ให้กับโรงเรียน 3 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน
ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน
ซึ่งต้องยอมรับว่าช้ามากๆสำหรับการดอนเงินครั้งนี้ ก็ไม่รู้จะโทษใครดี
ก็หันไปโทษระบบข้อมูลที่ไม่เสถียร ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า
ที่ผ่านมาเกิดความผิดพลาดในการโอนเงินอุดหนุนดังกล่าวบ้างเหมือนกัน กล่าวคือ
บางแห่งได้รับเงินเกิน บางแห่งได้รับเงินน้อยกว่าที่ตนเองจะได้
ทำให้เงินขาดไป เพื่อไม่ให้โรงเรียนเหนื่อยเกินไป
สพฐ.ก็ใช้หลักการที่ว่า หากโอนเกินให้คืน หากโอนขาดก็จะโอนเพิ่มให้ ส่วนใหญ่ก็เรียบร้อยดีครับ
จะมีก็เพียงบางแห่งที่ได้รับเงินเกินไปแต่ไม่ยอมคืน ดังนั้นการจัดสรรครั้งนี้
สพฐ.จึงไม่จัดสรรให้ เพราะถือเป็นการหักลบกลบหนี้ โดยให้โรงเรียนดังกล่าวใช้เงินส่วนเกินที่ยังไม่ได้ส่งคืน
สพฐ. กลับกลายเป็นว่า เงินเก่าที่เกินก็ใช้หมดไปแล้ว
ส่วนเงินใหม่ก็ไม่ได้รับจัดสรร จึงเดือดร้อนเพราะไม่มีเงินใช้ในปัจจุบัน
ก็คงต้องแก้ปัญหาเป็นรายๆไปครับ โดยอาจจัดสรรงบประมาณให้ไปใช้เป็นบางส่วนก่อน
แต่ก่อนจะจัดสรรให้ จะให้ชี้แจงก่อนว่าโรงเรียนนำงบประมาณส่วนเกินไปใช้อะไรหมดทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์ใช้
นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ส่งข้อมูลนักเรียน
ถ้าไม่มีข้อมูลจำนวนนักเรียนก็ไม่สามารถจัดสรรให้ได้ครับ
ขณะนี้เกิดแนวคิดในการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนให้กับผู้ปกครองโดยตรง ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปการเงินเพื่อการศึกษาได้ให้ข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวไว้นานแล้ว
คงเข้าหลักที่ว่า “ใครถือเงิน คนนั้นมีอำนาจต่อรอง” ซึ่งเรื่องนี้ในหลายๆประเทศได้ดำเนินการแล้ว
โดยจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนให้ผู้ปกครอง
แล้วให้ผู้ปกครองนำไปจ่ายให้กับโรงเรียนตามรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บ
โรงเรียนก็จะพยายามสร้างความดีเด่นดัง ผู้ปกครองจะได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียน
เมื่อมีนักเรียนโรงเรียนก็จะได้เงิน ในทางตรงข้ามถ้าไม่มีนักเรียน
โรงเรียนก็จะไม่มีเงินเข้ามาบำรุงโรงเรียน ต่างจากโรงเรียนของไปในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าผลสัมฤทธิ์จะต่ำสักเพียงไรก็ตาม หรือไม่ผ่าน สมศ.ก็ตาม
หรือไม่มีเด็กเหลืออยู่สักคนก็ตาม ครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลขาธิการ
กพฐ. ทุกคนก็คงยังได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนเต็มทุกคน และไม่เคยมีใครถูกลงโทษ ปัจจุบัน สพฐ.ก็จ่ายเงินเรียนฟรีในรูปเงินสดให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง
2 รายการ คือ ค่าเสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียน และยังมีอีก 2 รายการที่ได้สำหรับนักเรียนยากจนและนักเรียนพักนอน
และในอนาคตหากเป็นไปได้ สพฐ.อาจจ่ายเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนในลักษณะของบัตรเดบิต
(Debit card) ซึ่งเป็นบัตรที่มีมูลค่าตามจำนวนเงินอุดหนุนที่นักเรียนได้รับ
นักเรียนจะได้รับบัตรเดบิตคนละ 1 ใบ
เพื่อใช้แทนเงินสดในการไปซื้อสินค้าและบริการเรื่องต่างๆ
ขณะนี้กำลังศึกษารายละเอียดกันอยู่ครับ
ถ้ามีความคืบหน้าก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป
การยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล
ขณะนี้ได้เกิดแนวคิดอย่างมีส่วนร่วมในระดับนโยบายถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบลเกิดขึ้น โดยมีข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วว่า ในระดับตำบลจะมีโรงเรียนขนาดเล็กกระจายอยู่ ๒-๔
โรง
และโรงเรียนเหล่านี้อยู่ท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
หากปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าวก็จะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีความพยายามที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในตำบลที่คาดว่าจะส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนสูงขึ้น บางแห่งอาจใช้นวัตกรรมการหมุนเวียนครู หมุนเวียนคอมพิวเตอร์ หรือหมุนเวียนนักเรียน ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่น ซึ่งหลายแห่งทำได้ดี เช่น
สพป. เลย ๑(แก่งจันทร์โมเดล) สพป.
เลย ๓(ลากข้างโมเดล) สพป. ลพบุรี เขต
๒(ใจประสานใจโมเดล) สพป. นครราชสีมา3 (ทุ่งหลวงโมเดล) สพป.นครสวรรค์1(พยุหะศึกษาคารโมเดล) สพป.แพร่1(บ้านห้วยโรงนอกโมเดล)
สพป.อุดรธานี2(เสอเพลอโมเดล) สพป.พิษณุโลก1(วังน้ำคู้โมเดล)และยังมีอีกหลายแห่ง
ซึ่งบางแห่งก็ยั่งยืน
บางแห่งก็ไม่ยั่งยืน ทำๆ
หยุดๆ
แล้วแต่ผู้บริหารโรงเรียนและนโยบายระดับสูง
การสนับสนุนจากต้นสังกัดเพื่อให้นวัตกรรมดังกล่าวข้างต้นดูจะจริงจังขึ้นมาเสียแล้ว โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้
สพฐ. จัดทำรถตู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง ตำบลละ
๑ คัน จำนวน 6,545 คัน
(ตำบลทั้งหมดในประเทศไทยมี 7,409ตำบล แต่บางตำบลไม่มีโรงเรียน หรือบางตำบลมีโรงเรียนเป็นเอกเทศไม่ต้องหมุนเวียนเด็ก/ครูหรือบางตำบลเดินทางไปเรียนกับตำบลอื่น) รถยนต์ตู้โดยสารดังกล่าวนี้ จะใช้รับส่งนักเรียนในช่วงเช้า-เย็น กลางวันให้
อบต./เทศบาลตำบลนำไปใช้บริการชุมชน
อาคารเรียนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อันเนื่องมาจากการรวมนักเรียนก็เปิดโอกาสให้
กศน. เข้ามาใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในระดับตำบล
หรือให้พัฒนาชุมชนมาใช้เป็นศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ของชุมชน โดย สพฐ.
จะเป็นผู้ตั้งงบประมาณซื้อรถยนต์และค่าบำรุงรักษา
ส่วนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจะเป็นผู้ตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าจ้างพนักงานขับรถและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถดังกล่าว ก็นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีครับ
ที่จะเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้สูงขึ้น มีคำถามแล้วสิว่าจะได้จริงๆ หรือ ทำได้ครับ
และมีตัวอย่างให้เห็นแล้วตามรายชื่อสำนักงานเขตพื้นที่ที่กล่าวถึงข้างต้น
สวัสดีปีใหม่ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น