วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ผอ.พบเพื่อนครู

เหลียวหน้าแลหลัง...พลังที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในปีการศึกษา 2553 จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทางปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่จะตามมา ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ. จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น รมว.ศธ.กล่าวว่า การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ศธ.ดูแลการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ขอเชิญชวนกรรมการสถานศึกษา ร่วมชูธงเพื่อปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งมีจุดเน้น 3 เรื่องหลัก ดังนี้
คุณภาพของผู้เรียน ในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ศธ.จะต้องทำให้เด็ก ป.1-3 อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เคารพพ่อแม่ ครูอาจารย์ มีวินัยในตนเอง ป.4-6 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง โดย ศธ.ต้องมีตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นจำนวนของเด็กที่สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก โดยลักษณะของเด็กทั่วโลก จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เด็กเก่ง ซึ่ง ศธ.จะส่งเสริมความเป็นเลิศ มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นโรงเรียนประจำ คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 2) เด็กทั่วไป ศธ.จะให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยมีโรงเรียนรองรับ 3 ประเภท คือ 1.โรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งจะร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถสูง 2.โรงเรียนดีประจำอำเภอ เพื่อลดการเดินทางไปเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด และ 3.โรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา ด้อยโอกาส ชาวเขา ก็จะต้องมีโรงเรียนประจำ ซึ่ง ศธ.จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความเสมอภาคและโอกาส ศธ.ได้ดำเนินการโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งผลการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการสำรวจกับประชาชนทั้งประเทศ พบว่า เป็นโครงการที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยในปีต่อไป ศธ.จะจัดหนังสือเรียนฟรีให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 ซึ่งจะต้องพิจารณาจากงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประชาชนก็มีความพึงพอใจในลำดับรองลงมา เพราะสามารถทำให้โรงเรียนเกิดความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ ศธ.จะจัดระบบเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างโรงเรียนขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยด้วย โดย ศธ. จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กมีที่ยืน และสามารถเลือกที่ยืนได้ด้วยตนเอง การศึกษาในรูปแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมเด็กเก่งเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญและให้โอกาสกับเด็กทั่วไปด้วย ซึ่งโรงเรียนดีประจำอำเภอจะต้องสอนให้เด็กสามารถค้นพบและรู้ความต้องการตัวเองได้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
การมีส่วนร่วม ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดการศึกษา ศธ.จะไม่ทำเพียงลำพัง แต่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น สถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะมี Book Start ให้พ่อแม่เป็นผู้อ่านให้เด็กฟัง มีหนังสือเรียนและวาดภาพสำหรับเด็กปฐมวัย มีการประกวดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เกิดการเรียนรู้ในภาคสังคมเพิ่มขึ้น สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะเข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีงบประมาณประเดิม 5 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนอีก 75 ล้านบาท และในปีต่อๆ ไป ก็จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนปีละ 400 ล้านบาท
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน (เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กล่าวถึงการจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ นโยบายปีงบประมาณ 2554 มีการจัดงบประมาณไว้เพื่อดำเนินการแล้ว แต่จะไม่มีงบประมาณที่เรียกว่า SP2
เป้าหมายการปฏิรูป ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
- มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
- พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
- พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
- พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
ปีงบประมาณ 2554 สพฐ. ได้รับงบประมาณ 245,748 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2553 มีนโยบายที่ต้องดำเนินการ ได้แก่
- การแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน
- คุณภาพนักเรียนยังไม่น่าพอใจ
- การกระจายอำนายจากส่วนกลางไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมย์
- คณะกรรมการโรงเรียนยังไม่เข็มแข็ง
- การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
- การพัฒนาบุคลากรยังไม่ตรงตามความต้องการ
- การประเมินวิทยฐานะยังไม่สัมพันธ์กับคุณภาพ
- งบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน งบพัฒนามีน้อย
- ขาดแหล่งความรู้
เป้าประสงค์ 4 เป้า ได้แก่
1. พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ประชากรวัยเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี
4.ส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความเข็มแข็งในการบริหาร

กลยุทธ์ 5 ด้าน
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร
2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ขยายโอกาสทางการศึกษา
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจ
จุดเน้น 9 ประการ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4
2. นักเรียนชั้น ป.3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้
3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ
5. อัตราการออกกลางคัน เป็นศูนย์
6. สร้างทางเลือกการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
7. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐาน
7.1 สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองภายใน
7.2 สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบของ สมศ. ได้รับการรับรองทุกแห่ง
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับดี
9. การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ด้านภาษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับต่างประเทศ ให้มากขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่ทุกท่านต้องคิดทบทวนผลงานที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องเร่งรัด ปรับปรุง และพัฒนา ตลอดทั้งวางแผนการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2553 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมรับการประเมินคุณภาพ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2554 นี้แล้ว...

3 ความคิดเห็น:

ครูนวลฉวี วงษ์สมบัติ กล่าวว่า...

เห็นด้วยกับการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา แต่ทั้งนี้จะเป็นไปได้ผู้บริหารโรงเรียนต้องหนักแน่นและจริงใจ ในฐานะครูประถม..ทำอย่างนักเรียนป.3 จะอ่านออก เขียนได้ เต็ม 100จากประสบการณ์... ผู้บริหารควรจัดบุคลกรเข้าสอน โดยเฉพาะระดับช่วงชั้นที่ 1 ดังนี้
1. ควรจะจัดครูที่มีประสบการณ์อย่างแท้จริงเข้าสอน(ประสบการณ์ไม่ใช่ครูที่มีอายุราชการมาก)
2. นิเทศ ติดตาม ให้มากขึ้น
3. ให้ขวัญกำลังใจ

theerawut กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ผู้บริหารทุกท่านต้องดำเนินการ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผอ.โรงเรียน ไปโรงเรียนสัปดาห์ละ 2 วัน หรือ วันละ 30 นาที โรงเรียนจะไปรอดไหม...ช่วยด้วย