วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔


เพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคารพ ปีใหม่บรรจบมาอีกหน
เก่าไป ใหม่มา อย่ากังวล ทุกข์ สุข เคล้าปะปนธรรมดา
หากสิ่งใดที่คาดหวังยังรอผล คงได้ยลยินดีปีใหม่หนา
ให้มีสุข สดชิ่น ตลอดเวลา ทั้งปีนี้ ปีหน้าและตลอดไป

หนึ่งปีผ่านไปอะไรต่าง ๆ ที่เคยวาดหวังคงไดชื่นชม แม้ว่าตัวเราอาจจะต้องแก่ตัวมากขึ้นชีวิตเข้าใกล้ความร่วงโรยไปอีกหนึ่งปี คงจะมีสิ่งดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากมายพอสมควร การจัดการศึกษาของเราก็เช่นกัน ไม่กี่วันก็จะสิ้นปีการศึกษา คงต้องมาเร่งรัดการจัดการเรียนการสอนในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ให้หนักหน่วง(แม้จะเหน็ดเหนื่อย) แต่ความสำเร็จทั้งปวงย่อมเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในโอกาสนี้ผมขอนำนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนแบบสร้างพลังร่วม “ยกโรงเรียนให้ชุมชน” โดย นายไมตรี จันทองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบุตาโฮ –โนนกลาง สพป.อุบลราชธานี เขต 4 มานำเสนอให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบและทดลองนำไปใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไปดังนี้

การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ชุมชนถือว่าเป็นขุมพลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษา เพราะชุมชนเป็นศูนย์รวมทรัพยากร ทั้งทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนบ้านบุตาโฮ-โนนกลาง จึงให้ความสำคัญของชุมชนมาเป็นอันดับต้น บริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบชุมชนเป็นฐานพัฒนา(Community Based Management) คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร “ยกโรงเรียนให้ชุมชน” เพื่อให้ชุมชนเป็นเจ้าของโรงเรียน(Ownership)ใชัการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเชิงรุก รูปแบบความสัมพันธ์ 2 ทาง(Two way Communication)เข้าถึง เข้าใจ ร่วมพัฒนา โดยผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มพลังของชุมชนมีภาวะผู้นำที่ดี มีความสามัคคี มีความรัก หวงแหนและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน ส่งผลให้โรงเรียนก้าวหน้า มีความพร้อม ทันสมัย บรรลุวิสัยทัศน์ของการจัดการศึกษา

ขั้นที่ 1 รวมพลังวิถี (Power Group) รวมพลังร่วมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านผู้ปกครอง ครู นักเรียน ในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมภาคภูมิใจ ซึ่งเรียกว่า ชุมชนคือฐานการพัฒนา

ขั้นที่ 2 สามัคคีปฏิบัติ (Participation ) ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนซึ่งเรียกว่า กระบวนการที่ดีเลิศ
2.1 บริหารความศรัทธา : ผู้บริหาร ครู ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีภาวะผู้นำที่ดี (Good Leadership) ทุ่มเท เสียสละ มุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีจิตอาสาและบริการ บริหารแบบมีส่วนร่วมและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
2.2 หาความตระหนัก/ปรับกระบวนทัศน์: สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ความเข้าใจ ชี้ให้เห็นความสำคัญของการร่วมมือในการจัดการศึกษา ปรับกระบวนทัศน์การพัฒนา (Paradigm Shift)
2.3 ยกโรงเรียนให้ชุมชน : ร่วมประกาศนโยบาย ยกโรงเรียนให้ชุมชน สร้างพันธสัญญา ชี้แจงสร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่ดี
2.4 รวมพลคณะกรรมการบริหาร : โดยระดมทรัพยากรบุคคลทุกภาคส่วนเป็นคณะกรรมการ บริหารโรงเรียน
2.5 สืบสานวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) : ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนสอดคล้องภารกิจการจัดการศึกษา
2.6 ร่วมชี้เป้าให้ชัดเจน : วิเคราะห์ภารกิจ นโยบาย มาตรฐาน กำหนดเป้าหมายจัดการศึกษา
2.7 จัดระบบโครงสร้าง : จัดระบบโครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนครอบคลุมภารกิจจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.8 สร้างเสริมบทบาท มอบอำนาจหน้าที่ : สนับสนุนส่งเสริมบทบาทมอบอำนาจหน้าที่ในการร่วมมือทำงาน ให้ความสำคัญยอมรับฟังความคิดเห็น
2.9 มีการร่วมวางแผนและพัฒนา : ร่วมพลังความคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ร่วมประเมินผล และภาคภูมิใจ
2.10 ให้เกียรติ ยกย่อง ชมเชย : ให้ความสำคัญ ให้เกียรติ ยกย่อง ชมเชยในโอกาสที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 ชี้ชัดความสำเร็จ ( Successful ) ความสำเร็จบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษา ของโรงเรียน เรียกว่า ก่อเกิดการพัฒนา
3.1 โรงเรียนก้าวหน้า : มีความพร้อม ทันสมัย
3.2 คุณภาพครู : ครูมีมาตรฐานวิชาชีพ
3.3 คุณภาพนักเรียน : นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3.4 คุณภาพโรงเรียน : โรงเรียนมีมาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 4 ผลกระทบดีเลิศ ( Best Impact ) มีผลกระทบเชิงบวกรอบด้าน ชุมชนมีความพึงพอใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนอย่างแท้จริง (Ownership) วัฒนธรรมการทำงานที่เข้มแข็ง องค์กรเข้มแข็ง

บทสรุป การบริหารโรงเรียนโดยใช้พลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ชุมชนคือแหล่งทรัพยากรทางการบริหารที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการจัดการศึกษาทุกด้าน การยกโรงเรียนให้ชุมชนเป็นนวัตกรรมการบริหารที่สร้างความร่วมมือ เพื่อระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่เรียกว่า ปวงชนเพื่อการศึกษา ( All for Education ) อันส่งผลให้การศึกษาเป็นของปวงชน (Education for All ) อย่างแท้จริง ซึ่งการบริหารแบบร่วมมือ สอดคล้องกับประธานาธิบดี แฮรี่ ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกาเขียนติดไว้บนโต๊ะทำงานว่า.. ถึงฉันเป็นเจ้ามือ แต่ฉันยอมให้คุณแจกไพ่.. ฉะนั้นการให้ชุมชนเป็นฐานพัฒนา (CBM) เป็นการสร้างพลังความร่วมมือ โดยการสร้างความสัมพันธ์เชิงรุก ความเข้าใจอันดี มีการให้เกียรติยกย่อง สร้างความภาคภูมิใจและดึงศักยภาพของชุมชนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษาอย่างเหมาะสมกลมกลืน เมื่อเรารักชุมชน ชุมชนก็รักเรา ดังวรรคทองอมตะของซุนวูที่ว่า..รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง.. ส่งผลให้โรงเรียนมีความก้าวหน้า มีความพร้อมทันสมัย เป็นองค์กรที่เข้มแข็งมีคุณภาพ ชุมชนมีความพึงพอใจ รัก หวงแหนและรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน (Ownership) อย่างแท้จริงสมกับคำว่าโรงเรียนคือ...สถาบันอันล้ำค่าของชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น: