วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบริหารจัดการและการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


ถึง ท่านผู้บริหารและพี่น้องเพื่อนครูที่เคารพ
วันนี้ขอเริ่มต้นแสดงความยินดีกับท่านที่ได้รับอนุมัติผลการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ซึ่งที่ประชุม อกคศ.เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ได้อนุมัติจาก รุ่นแรกที่ปรับปรุงผลงาน จำนวน 37 ราย ดังนี้ นส.วิไลวรรณ กัณหา นายสมพงษ์ หมวกไธสง นายประกอบ ตันเจริญ นางสุดารัตน์ นาเจริญ นายสงวนศักดิ์ แสงรัตนวงค์ นายถาวร กิ่งไธสง นายวีระ เพียรมุ่งงาน นายไพศาล คำกัมพล นางประเสริฐ สารสุข นส.พิศมัย ปาละจูม นายนพพล นพไธสง นางประนอม อาจพรม นายวีระศักดิ์ อรุณโน นายเจริญ เครือแวงมนต์ นายพิทยา ฉ่ำเมืองปักษ์ นายสุรศักดิ์ พิลาแดง นายสำรอง เสนาโนฤทธิ นายไพบูลย์ ยุทธเสรี นายกิติศักดิ์ ครจำนง นางพฤกษชาติ วงเวียน นางอรชร แจ่มใส นางศิรินันท์ เมชบุตร นางอมรพันธ์ ประวรรณเนย์ นางอรุณวรรณ ศาลางาม นางประทิน ยุทธเสรี นายสมบัติ โพธิมาศ นายไสว แววไธสง นายจักรภพ แพงไธสง นางสัมฤทธิ์ บุญยัง นางจันทิมา ก้านจักร นางอนงค์ จันทร์คง นางดาราวรรณ ศักด์ศรีท้าว นางระเบียบ สะสม นางผกามาศ สร้องศิริกุล นายประเสริฐ ชำนิกล้า นางนิตยา สุงิ้วงาม และนายสุพรรณ เทาขุนทด รุ่นที่ 2 จำนวน 17 ราย ดังนี้ นายไพรัตน์ จอดนอก นางทัศนีย์ กลางสวัสดิ์ นายมนตรี นันโช นายเจียม แคนคันรัมย์ นายบพิตร ชมพูวงศ์ นางสมจิต การัดเสนา นายสมชาย ยาน้ำคำ นายแสวง นามปัญญา นางจารุวรรณ เรืองสมบัติ นายประนอม ขันโพธิ์น้อย นายบุญเหลือ จันทร์ภิรมณ์ นายธวัชชัย ทาหนองบัว นางพนิดา ทาหนองบัว นายอินทรา ปะวะศรี นายปรีชา กสานต์ศรี นางนวลฉวี วงษ์สมบัติ และนายสมชัย สินไธสง (อนุมัติ แต่ให้แก้ไขผลงานก่อนเผยแพร่) ซึ่งรายละเอียดการแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง จึงขอเรียนว่าอย่าได้หลงเชื่อบุคคลใดที่แอบอ้างว่าจะสามารถช่วยเหลือ ดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น และท่านที่คณะกรรมการอนุมัติแต่มีเงื่อนไขก็ขอให้รีบดำเนินการและแจ้ง สพท.เพื่อแจ้งคณะกรรมการผู้ประเมินต่อไป
วันก่อนได้อ่านบทความการปฏิรูปการศึกษาของท่านพรชัย ภาพันธ์ น่าสนใจดีจึงขอนำบางส่วนมานำเสนอให้ท่านได้ศึกษา เพื่อจะเป็นแนวทางของพี่น้องเพื่อนครูจะได้ลองนำมาคิดทบทวนว่าเราจะช่วยการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างไร มีประเด็นใดจะสามารถนำไปปรับใช้ได้บ้างก็ลองดูนะครับ


แก่นแท้ของการเรียนการสอนคือ การเรียนรู้ของผู้เรียน เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามลีลาการเรียนรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้ไปสู่ผู้สร้างประสบการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนได้แสวงหาคำตอบ ซึ่งคำตอบของแต่ละคนอาจมีที่มาแตกต่างกันตามบริบทที่ใกล้กับนักเรียน ครู คือปัจจัยป้อนที่สำคัญที่จะทำให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย ต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สนองความต้องการของนักเรียนแต่ละคน ส่งเสริมให้นักเรียนนำความเก่งออกมาปรากฏให้เต็มที่ ทำอย่างที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข บรรยากาศแห่งความไว้วางใจความเป็นกัลยาณมิตร ห้องเรียนจึงไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน ใช้ทุกสิ่งใกล้ตัวเป็นครู แม้เราจะพูดถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมายาวนานแต่ก็ยังมีครูที่สับสนในการจัดการเรียนรู้ จนในที่สุดก็หมดความอดทนจัดการสอนมากกว่าการเรียนรู้ ยึดครูเป็นศูนย์กลางเขียนไม่ได้ คิดไม่ออกก็ลอกในกระดานทำการสอน โดยมีครูพูดคนเดียว จนเด็กคิดว่าตนเองเป็นคนใบ้ ไม่ได้พูดไม่ได้แสดงจนเกิดคำถามในใจว่าการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญถึงเวลาที่ครูต้องหันกลับมาทบทวนหรือยัง การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด หมายถึง การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง สถานการณ์จริงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงต้องเอาผู้เรียนแต่ละคนเป็นตัวตั้ง ครูจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์กิจกรรมการทำงาน อันนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนครบทุกด้านทั้งทางกาย ทางจิตหรืออารมณ์ ทางสังคม และสติปัญญา พาให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์
สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ ได้กล่าวถึงสิ่งที่บ่งบอกว่าต้องปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ดังนี้ คนทุกวัยตั้งแต่เกิดจนจบมหาวิทยาลัยเรียนแต่วิชา รู้แต่หนังสือ ถูกล้อมกรอบด้วยตารางสอนและห้องเรียน การพัฒนาคนจึงไม่เอื้อให้มีคุณสมบัติมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน ชาญชีวิต วิธีการเรียนการสอนไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านการผลิต วิเคราะห์การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนขาดคุณลักษณะช่างสงสัยและใฝ่หาคำตอบ ครูยังเน้นสอนหนังสือมากกว่าสอนคน

1. ครูยังเป็นผู้มีอำนาจในชั้นเรียน ครูยังยึดมั่นว่าตนเองเป็นผู้รู้มากที่สุด ถูกที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดในกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนมีหน้าที่รับและปรับตัวให้สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้และวิธีสอนของครู สถานศึกษาจึงไม่เป็นโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่เป็นโรงสอน
2. กระบวนการเรียนรู้เป็นความทุกข์ อับเฉา น่าเบื่อหน่าย การสอบและคะแนนสอบเป็นสิ่งพิพากษาความสำเร็จ ทุกคนจึงเครียดขาดความสุขในการศึกษา
3. โรงเรียนไม่สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นอาณาเขตที่ขาดความสัมพันธ์กับชีวิตชุมชน ห่างไกลธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้ที่ปลุกเร้าบรรยากาศทางปัญญา
4. กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมจำเจและพฤติกรรมถ่ายทอด สัดส่วนการฝึกปฏิบัติการฝึกคิดและการอบรมบ่มนิสัยยังมีน้อยกว่าการท่องบ่นเนื้อหา ผู้เรียนเคยชินกับการทำตาม เชื่อฟัง นั่งนิ่ง จึงขาดความคล่องในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่ได้รับการปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม
5. ระบบโรงเรียน เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ มีโอกาสน้อยที่จะได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้พากเพียร สู้งาน ยึดมั่นความสุจริตทั้งกาย วาจา ใจ การบ่มเพาะคุณธรรมและสุนทรียภาพยังไม่เข้มแข็งพอจนเกิดผลแก่ผู้เรียน
......................(ติดตามตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น: