สวัสดีครับ ท่านผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เคารพทุกท่าน
ผ่านเลยเทศกาลวันปีใหม่ ๒๕๕๓ มาเดือนหนึ่งแล้ว อีกทั้งเป็นโค้งสุดท้ายของปีการศึกษา ๒๕๕๒ ทุกโรงเรียน โดยเฉพาะครูผู้สอนทุกท่านคงต้องเร่งรัดการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตร และมีการทบทวนบทเรียนต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เพื่อเตียมตัวสอบปลายภาค สอบปลายปี และการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่าง ๆ (คงเป็นกรรมของนักเรียนสมัยนี้ที่มีการสอบมากมาย) อย่างไรก็ขอฝากให้โรงเรียนพยายามบูรณาการการสอบบ้างก็แล้วกัน
ของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๓ ของกระทรวงศึกษาธิการ คิดว่าทุกท่านคงทราบจากข่าวต่าง ๆ แล้ว นั่คือ เรา(ศธ) ได้รัฐมนตรีว่าการคนใหม่ คือ ฯพณฯ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในการมารับตำแหน่งใหม่ท่านก็ฝากนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาแก่ผู้บริหารของกระทรวงฯ จะนำประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ตามนโยบายที่ได้คิดใหม่ เพื่อให้สานต่อ และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนที่จะนำไปกลั่นกรอง และดำเนินการในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่จะให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังต่อไป ดังนี้
๑. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ขอให้ทุกส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหมดได้ร่วมกันในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ให้มีการประชาสัมพันธ์ขยายผล ตลอดถึงขอความร่วมมือในการที่จะให้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ นั้น เน้นการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต โดยเน้นที่คุณภาพผู้เรียน เน้นที่โอกาสที่ผู้เรียนควรจะได้รับอย่างเสมอภาค เน้นในเรื่องของการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการที่จะดำเนินการในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่จะต้องดำเนินการในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยมีกิจกรรมหลักสำคัญที่จะต้องเริ่มต้นในนโยบายข้อนี้ คือ จะจัดทำสมัชชาปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม ๒๕๕๓
๒. โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ อย่างต่อเนื่องโดยมีการปรับปรุงกระบวนการที่จะดำเนินการในการที่จะให้นักเรียนและผู้ปกครอง ได้รับผลประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหนังสือเรียน เครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียน นักเรียนจะต้องมีความพร้อมก่อนที่จะเปิดภาคเรียน ซึ่งให้หน่วยราชการที่ควบคุม กำกับ โรงเรียนทุกส่วน รวมทั้งในส่วนที่ไม่อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการด้วย แต่จะขอความร่วมมือให้โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
๓. โรงเรียนดีประจำตำบล โครงการนี้จะมียุทธศาสตร์ในการที่จะไปสร้างโรงเรียนดีให้เกิดขึ้นในตำบลห่างไกลในชนบท ภายใต้การกำกับของชุมชน โดยมีกระบวนการที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการเริ่มต้นที่จะทำประชาคมในตำบลที่มีโรงเรียนขนาดเล็กและอยู่ห่างไกล ให้มาร่วมกันจัดการศึกษาในโรงเรียนดีประจำตำบล โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะต้องรับผิดชอบในเรื่องของการ รับ-ส่ง นักเรียนในตำบลมาที่โรงเรียน รับผิดชอบดูแลในเรื่องของอาหารกลางวัน เป็นต้น โดยจะดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนที่ทันสมัย มีห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องอินเทอร์เน็ต สระว่ายน้ำ และมีการรปรับปรุงภูมิทัศน์ มีปัจจัยในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีความสมบูรณ์ โดยมอบหมายให้เขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการในเรื่องนี้ ถ้าหากว่าเขตพื้นที่การศึกษาใดสามารถคัดเลือกตำบลได้แล้ว ก็จะดำเนินการทำ MOU ร่วมกัน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงมหาดไทย ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งถือเป็นการเปิดทศวรรษใหม่ของการปฏิรูปการศึกษาที่จะปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ร่วมมือกันกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาโดยให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญคือจะเป็นการลดภาระด้านงบประมาณให้กับผู้ปกครองในการจัดการศึกษาด้วย
๔. ผลักดัน พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินวิทยฐานะ มีข้าราชการครูจำนวนมาก ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างเงินเดือน ให้เป็นไปตามการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอื่นๆ ซึ่งได้ปรับมาแล้ว เนื่องจากเงินเดือนและวิทยฐานะของครูนั้นผูกติดกับพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้เร่งรัดเรื่องนี้เพื่อให้ครูได้รับสิทธิประโยชน์ นอกจากนั้นยังได้มอบหมายให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ไปดูแลเรื่องเงินวิทยพัฒน์ และดูแลเรื่องกองทุนพัฒนาครู เพื่อดำเนินการในการพัฒนาครูอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยเฉพาะโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ขอให้มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อพัฒนาชีวิตครู ให้ครูใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยใช้กระบวนการจัดตั้งเครือข่ายในรูปแบบองค์การมหาชน ที่เป็นเครือข่ายพัฒนาครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ตลอดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงต่อไป
๕. สนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้บูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อจะส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น ที่สำคัญคือมุ่งเน้นที่จะทำงานร่วมกันในการที่จะผลิตครูวิทยาศาสตร์ และครูคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะให้ครูเหล่านี้ได้เป็นพลังขับเคลื่อนในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลในการที่จะให้นักเรียนของเราได้โอกาสมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และจะส่งเสริมต่อยอดที่จะให้นักเรียนของเราได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในโรงเรียนลักษณะพิเศษคือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และมีการส่งเสริมให้จัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในทุกภูมิภาค ถือเป็นนโยบายใหม่ที่จะต้องขับเคลื่อนภายใต้การระดมพลังสมองที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน
รมว.ศธ. ยังได้กล่าวถึงงานที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาการศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะแบ่งเป็นแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด, การแต่งตั้งผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา, การแก้ไขปัญหาสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะการปรับปรุงองค์การค้าของคุรุสภา, โครงการตามพระราชดำริต่างๆ, โครงการ ๓ ดี ๔ ใหม่, การอบรมครู ทั้งระบบเพื่อสร้างครูพันธุ์ใหม่ โดยมีศูนย์ผลิตและพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ, โครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรณรงค์ให้มีห้องสมุดในทุกภาคส่วน, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่ง ศธ.จะดูแลเพื่อต่อยอด ให้ผู้ที่เรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ แต่ขาดทุนทรัพย์และประสงค์จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปี ๒๕๕๓ ให้ได้รับเงิน กยศ. เพิ่มมากขึ้น
4 ความคิดเห็น:
สาเหตุที่ควรมีโรงเรียนประจำตำบลดี เพราะ
1. จำนวนครูต่อนักเรียนน้อยกว่าเกณฑ์มาก
2. ถึงแม้นักเรียนจะน้อย ครูจะน้อยแต่ภาระกิจงานก็เท่ากับโรงเรียนใหญ่
3. ถึงแม้โรงเรียนจะน้อยแต่การสอนก็แยกเป็นระดับชั้นเหมือนเดิม
4. รวมโรงเรียนน้อยเข้าด้วยกันได้ครูเพิ่ม แต่ห้องเรียนเท่าเดิม เช่น บางโรงเรียน ครู 1 คน ต่อนักเรียน 10 คน แต่ถ้ารวม 3 โรงเรียน นักเรียนก็จะเป็น 30 คน ครู 1 คนก็ดูแลได้ แถมได้กำไรครูเพิ่มอีก 2 คน
5. ตำแหน่งผอ. ก็น้อยลงการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งก็เข้มข้นขึ้นได้คนเก่งมากขึ้น
6. ทุกวันนี้การคมนาคมสะดวก
7. โรงเรียนประถมขนาดพอเหมาะผมคิดว่าจำนวนนักเรียนควรจะประมาณ 500 - 1,000 คน
8. สมควรทำโครงการนี้อย่างเร่งด่วน
9. กระทรวงศึกษาธิการต้องดูแลด้านการศึกษา อบต.ต้องให้การสนับสนุนไม่ใช่เอาไปบริหารเอง เพราะไม่งั้นทุกอย่างจะเป็นการเมืองไปหมด
ปล. ทำไมคุมสอบ NT ป.3 ได้เบี้ยเลื้ยงคุมสอบครับ แต่ NT ม.3 ได้
ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อเห็นที่เป็นประโยชน์ รับไว้พิจารณาดำเนินการเท่าที่สารถกระทำได้ แต่ ปล.ไม่เข้าใจในคำถามครับ
ขอพระคุณท่านผอ.ในเมตตาธรรมคุณธรรมที่ท่านมีให้กับครูและผู้บริหาร(รายงานใดที่ท่านได้รับถ้าผู้รายงานอยู่ในสภาวะจิตที่มีอคติอิจฉา อยากชนะ มีเพื่อนผู้ให้ข้อมูลที่มีเจตนาไม่ดีกับผู้บริหารและครูในโรงเรียน อยากได้ความชอบจากผู้บริหารแต่ไม่สอนไม่ทำงานพาลหาเรื่องสร้างความแตกแยกในโรงเรียน)ท้าทายผู้บริหารมึงกับกูใครจะอยู่ใครจะไป หัวหายหางหด...พอดีมีเพื่อนกินเพื่อนดื่มซี๊ปึกคอเดียวกันเป็นผู้ตรวจ....
ท่านผอท่านเป็นเป็นผู้มีคุณธรรมและเมตตาธรรมสูงคงพิจารณาเจตนาบางอย่างออก..ขอให้บารมีของพระพุทธเจ้าตุ้มครองรักษา
คิดถึงการศึกษาแบบเก่าเก่า
การศึกษาแบบเดิม สร้างคนและสร้างชาติได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ความเจริญมีแต่วัตถุเท่านั้น ลืมศีลธรรม0จรรยาบรรณและความเป็นไทยที่ดีงาม สิ่งดีดีหายไปไหนหมด คิดถึงเหลือเกิน ความเป็นกันเอง รอยยิ้ม
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้ำใจ อยากได้สังคมแบบดั้งเดิม ทั้งครูและนักเรียน โลกนี้คงมีความสุขที่สุดในโลก มองไปทางไหนคงเห็นแต่รอยยิ้ม สดชื่น ทุกคน
แสดงความคิดเห็น