การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก.ค.ศ. กำหนดให้มีทั้งการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง การพัฒนาเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง รวมทั้งการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกตำแหน่ง สำหรับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชานั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 79 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และมีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้มีความรู้ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม ในอันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่ทางราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่งขณะนี้ ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวแล้วมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.ผู้บังคับบัญชาทุกคนทุกระดับต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีหน้าที่ต้องส่งเสริม สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ได้มาตรฐาน มีความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความก้าวหน้าแก่ราชการ
ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชานำผลการพัฒนาไปใช้เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเปลี่ยนตำแหน่งหรือสายงาน การเลื่อนวิทยฐานะ การยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
1.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.ผู้บังคับบัญชาทุกคนทุกระดับต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีหน้าที่ต้องส่งเสริม สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ได้มาตรฐาน มีความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความก้าวหน้าแก่ราชการ
ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชานำผลการพัฒนาไปใช้เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเปลี่ยนตำแหน่งหรือสายงาน การเลื่อนวิทยฐานะ การยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
วิธีการพัฒนา กำหนดใน 2 ส่วนสำคัญตามความต้องการหรือความจำเป็น คือ
1.ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรัก ศรัทธา ภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เป็นแบบอย่างที่ดี
2.ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
ระยะเวลา ต้องมีการพัฒนาอย่างมีระบบ เป็นระยะๆ รวมกันไม่น้อยกว่า 15 วันในแต่ละปี โดยผู้บังคับบัญชาจะประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ ทุก 3 เดือน และสรุปผลการประเมินในภาพรวมทุก 6 เดือน เพื่อรายงานผู้บริหารส่วนราชการต้นสังกัดต่อไป อย่างไรก็ตาม กลไกการพัฒนาดังกล่าว ก.ค.ศ. ผู้บริหารส่วนราชการต้นสังกัดหรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือรวมทั้งการยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงานการศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการพัฒนาดีเด่นด้วย
อีกประการหนึ่งของการพัฒนาตนเองสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้นก็คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ที่ทุกคนจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองก็เป็นหนทางหนึ่งที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อการปรับเปลี่ยนสู่ “บุคคลแห่งการเรียนรู้” นั่นเอง การเรียนจากบทเรียน Online ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ผู้เขียนขอแนะนำ เชิญชวน สมัครเข้ารับการอบรมในรูปแบบ e – learning เช่น
- หลักสูตรการอบรมของ กพร. ในหลักสูตร Mini MPM (http://www.opdcacademy.com/)
- หลักสูตรการอบรมของ สค.บศ. ( http://www.guruonline.in.th/lms/)
1.ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรัก ศรัทธา ภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เป็นแบบอย่างที่ดี
2.ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
ระยะเวลา ต้องมีการพัฒนาอย่างมีระบบ เป็นระยะๆ รวมกันไม่น้อยกว่า 15 วันในแต่ละปี โดยผู้บังคับบัญชาจะประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ ทุก 3 เดือน และสรุปผลการประเมินในภาพรวมทุก 6 เดือน เพื่อรายงานผู้บริหารส่วนราชการต้นสังกัดต่อไป อย่างไรก็ตาม กลไกการพัฒนาดังกล่าว ก.ค.ศ. ผู้บริหารส่วนราชการต้นสังกัดหรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือรวมทั้งการยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงานการศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการพัฒนาดีเด่นด้วย
อีกประการหนึ่งของการพัฒนาตนเองสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้นก็คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ที่ทุกคนจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองก็เป็นหนทางหนึ่งที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อการปรับเปลี่ยนสู่ “บุคคลแห่งการเรียนรู้” นั่นเอง การเรียนจากบทเรียน Online ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ผู้เขียนขอแนะนำ เชิญชวน สมัครเข้ารับการอบรมในรูปแบบ e – learning เช่น
- หลักสูตรการอบรมของ กพร. ในหลักสูตร Mini MPM (http://www.opdcacademy.com/)
- หลักสูตรการอบรมของ สค.บศ. ( http://www.guruonline.in.th/lms/)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น