วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา


ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของไทยว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันค้นหาปัจจัยต่างๆ พบว่ามีทั้งหมด 6 ปัจจัย คือ
ปัจจัยที่ 1 การพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับครอบครัวของผู้เรียนเอง เช่น ผู้เรียนมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ ,ไม่มีความพร้อม ไม่ได้รับการสนับสนุนที่จะทำให้เขาเรียนได้
ปัจจัยที่ 2 การพัฒนาคุณภาพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ ตอนนี้เราประสบกับปัญหาการขาดแคลนครู ประสบกับปัญหาครูไม่มีคุณภาพ และเราไม่สามารถที่จะดึงดูดคนดี คนเก่งให้เข้ามาเป็นครูได้ จึงทำให้ไม่สามารถที่จะกอบกู้บูรณาการทางการศึกษาได้ เราจึงอยากที่จะผลักดันนโยบายที่ว่าเลิกอัตราครูจ้างให้เป็นข้าราชการครูทั้งหมด โดยจะคัดกรองให้คนที่มีความสนใจ มีใจรักอาชีพครูจริงๆ เข้ามาเป็นครู
ปัจจัยที่ 3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เราต้องการเทคโนโลยี สื่อ และอุปกรณ์ทางการศึกษาที่ทันสมัยเข้ามาช่วยครูและเด็ก เพื่อให้เขาสามารถแสวงหาความรู้ และมีทักษะที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นหนทางที่จะช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยที่ 4 การจัดระบบการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เนื่องจากระบบการศึกษาเกือบทุกระดับยังเป็นระบบที่ล้าหลังอยู่ ซึ่งจะเน้นอยู่แต่ในเรื่องระบบการวัดผล และการเลื่อนชั้นแบบอัตโนมัติ แม้เด็กจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็เลื่อนไปเรื่อยๆ เราจึงจะเลิกใช้ทั้ง 2 ระบบ
ปัจจัยที่ 5 การสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา โดยการกระจายอำนาจให้โรงเรียนในระดับต่างๆมีความเข้มแข็งขึ้น และจะสนองนโยบายที่ให้เด็กเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ซึ่งจะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่
๏ ผู้เรียนหรือนักเรียน ยังไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้านอย่างเพียงพอก่อนการเข้าเรียน เช่น IQ ต่ำหรือลดลง มีปัญหาด้านพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ยังไม่เต็มที่ รวมทั้งการเตรียมผู้เรียนก่อนจะเข้าเรียน เป็นต้น
๏ ครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่ามีปัญหาการขาดแคลนครู และปัญหาคุณภาพของครู โดยมีข้อเสนอให้พัฒนาครูประจำการ ให้ทบทวนระบบการพัฒนาครู
๏ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ICT ในปัจจุบันควรจะนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในฐานะเครื่องมือของครู และเครื่องมือของเด็ก จึงจะทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้เต็มที่
๏ ด้านระบบการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ระบบหน่วยกิตมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่สะท้อนความเป็นหน่วยกิต จึงควรจะใช้ระบบหน่วยกิตให้เต็มที่ มิใช่ใช้เพียงครึ่งๆ กลางๆ อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดย ศธ.จะสร้างความพร้อมให้กับโรงเรียน คิดระบบให้ดี มีการเตรียมการให้กับโรงเรียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาระยะหนึ่ง ๓-๕ ปี และมีหลายเรื่องที่เชื่อมโยงกับความอ่อนแอทางการศึกษา เช่น การใช้ระบบชั้นเรียน การตกหรือซ้ำชั้น การเลื่อนชั้นอัตโนมัติ การวัดผลที่ไม่เข้มข้น มีการกำหนดไว้เพียงเกรดเฉลี่ย ๑.๐๐ หรือไม่ถึง ๑.๐๐ ก็เลื่อนชั้นได้ จึงได้เสนอให้มีการทบทวนการจัดระบบการศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
๏ การสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา ผลการเรียนเกิดที่สถานศึกษา สถานศึกษาจึงต้องมีความเข้มแข็ง ซึ่งหมายถึงระบบกระจายอำนาจที่เบ็ดเสร็จและสิ้นสุดที่สถานศึกษา ระบบการเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหาร ครู คณาจารย์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ในระดับสถานศึกษา รวมทั้ง ระบบการช่วยสนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็ง
๏ การมีส่วนร่วมของเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ การร่วมจัด ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ท้องถิ่น รัฐบาล หรือบุคคลจัด ควรจะมีการกำหนดสัดส่วนการรับผิดชอบ เช่น ท้องถิ่นควรเน้นการศึกษาของเด็กเล็กและการศึกษาภาคบังคับ เอกชนควรเพิ่มความรับผิดชอบจาก ๑๘% เป็น ๒๕% หรือไม่ ในการมีส่วนร่วมที่จะเข้ามาสนับสนุนรัฐ โดยส่วนนี้จะเน้นไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีทรัพยากรสามารถสนับสนุนได้ ศธ.ได้เสนอว่า การจะให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมรับภาระเป็นเรื่องที่สำคัญ หากมีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรค คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะดูแลแก้ไข เพื่อให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อวงการศึกษามาก

Unknown กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่ดีอยากให้มีต่อ