วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นยาหม้อใหญ่ที่แสนขมขื่น

จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการประเมินมาตรฐานการจัดการศึกษาตามระบบของการประกันคุณภาพทางการศึกษา หรือการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (NT , O-NET) พบว่าผลการจัดการศึกษาของไทยยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดโดยเฉพาะด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จำเป็นอย่างยิ่งที่นักการศึกษาทุกระดับ ทุกฝ่าย ต้องช่วยกันพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ได้ให้ข้อคิดไว้อย่างน่าสนใจว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการยกระดับคุณภาพ และมักจะหาไม่ได้ในระบบการศึกษาทั่วไป คือ การเรียนการสอนที่มีคุณภาพอย่างเสมอต้นเสมอปลาย อะไรบ้างที่ทำแล้วดูจะได้ผล ต่อการพัฒนาคุณภาพ สรุปจากประเทศที่ผลสัมฤทธิ์พัฒนาขึ้น
บทเรียนที่ 1 การศึกษาจะไม่มีวันมีคุณภาพเหนือคุณภาพของครู ประเทศที่ประสบความสำเร็จจะดึงดูดคนที่มีคุณภาพสูงสุดเข้าเป็นครู เช่น เกาหลี คนเป็นครูมาจากคนที่เก่งที่สุด 5 % แรก ฟินแลนด์ 10 % แรก และสิงคโปร์ 30 % แรก
บทเรียนที่ 2 วิธีเดียวที่จะปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ คือ ปรับปรุงการเรียนการสอน วิธีที่ได้ผลที่สุด คือ พัฒนาวิชาชีพภายในห้องเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ด้วยการสนับสนุนให้ครูได้ไปสังเกตการเรียนการสอนของเพื่อนครู เช่น ที่เซี่ยงไฮ้ให้ไปภาคเรียนละ 8 ครั้ง ครูดีเด่นสาธิตการสอนให้เพื่อนครู ตามด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครูได้รับการสนับสนุนให้ทำงานวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
บทเรียนที่ 3 ผลงานที่มีคุณภาพระดับสูงต้องช่วยให้เด็กทุกคนไม่ใช่ดูแลเพียงคนเก่งประสบความสำเร็จ โดยได้ยกตัวอย่างประเทศฟินแลนด์ที่ดูแลเด็กเรียนอ่อนเป็นพิเศษ ในวิชาภาษาและคณิตศาสตร์ ด้วยการหาครูสอนเสริม 1 ต่อ 1 สนับสนุนครูการศึกษาพิเศษให้ได้รับการอบรมเพิ่มเติมและได้เงินเดือนสูง และระดม ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น นักจิตวิทยา พยาบาล ฯลฯ
บทเรียนที่ 4 ผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่เป็นตัวช่วยที่สำคัญยิ่งในโรงเรียน ที่สิงค์โปร์ให้ความสำคัญในการคัดเลือกและอบรมผู้บริหารสถานศึกษา เช่น ใช้เวลาอบรม 6 เดือน โดยจ้างบริษัทอบรมผู้บริหารชั้นนำ จัดโครงงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม ทุกสัปดาห์จะให้โจทย์ยากๆ เพื่อให้ลองพัฒนานวัตกรรมที่จะแก้ปัญหา ส่งไปฝึกงานต่างประเทศกับบริษัทชั้นยอดระดับโลก และมีเกณฑ์การประเมินที่เข้มข้น ในขณะเดียวกัน จะสนับสนุนให้โรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนมากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินและการระดมทรัพยากร ในภาพรวมได้ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร จากบรรยากาศที่สบายๆ ไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ดังนี้

สบายๆ.......หรือว่า

ท้าทาย
ลองผิดลองถูก
มาตรฐานสูงสำหรับทุกคน
รูปแบบ วิธีการที่เหมือนกัน
รูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย
จัดบริการให้
นำเสนอทางเลือก
เน้นที่ผู้ผลิต
เน้นที่ลูกค้า
เน้นที่ปัจจัยป้อน
เน้นที่ผลลัพธ์
ตัดเสื้อโหล
ตัดเสื้อเฉพาะตัว
พูดเรื่องความเสมอภาค
ลงมือทำให้เกิดความเสมอภาค
รับองค์ความรู้ที่ส่งต่อมา
หาข้อมูลและวิธีการที่ดีเด่น
วางกฎระเบียบ
สร้างแรงจูงใจ
พัฒนาตามบุญตามกรรม
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ข้อกำหนดที่เข้มงวด
แนวทางที่ยืดหยุ่น
มองข้างบน
มองไปรอบตัว


“หวังว่าจะเป็นข้อคิดสำหรับพวกเราที่กำลังวางแผนพัฒนาคุณภาพ”

ไม่มีความคิดเห็น: