สวัสดีครับ พี่ น้อง เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เคารพ
ผมทิ้งกระทู้เรื่อง"จุดเริ่มต้นคุณภาพการศึกษาอยู่ที่ไหน" ไว้นานมาก ก็ด้วยเหตุอยากบอกกล่าว ตอกย้ำกับทุกท่าน วันนี้พอมีเวลาอยู่บ้าง จึงขอนำข่าสารการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษา มาเรียนให้ทุกท่านได้ทราบ โดยเฉพาะ "แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ซึ่งเกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง ดังมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางการปฏิรูปเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐานในคณะกรรมาธิการการศึกษา และกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการ ศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพ โดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ 1) การศึกษาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของชาติ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ความเสมอภาคของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และทุกคนมีโอกาสพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 3) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่
แนวทางการปฏิรูปเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญ 8 ประการ ได้แก่
ผมทิ้งกระทู้เรื่อง"จุดเริ่มต้นคุณภาพการศึกษาอยู่ที่ไหน" ไว้นานมาก ก็ด้วยเหตุอยากบอกกล่าว ตอกย้ำกับทุกท่าน วันนี้พอมีเวลาอยู่บ้าง จึงขอนำข่าสารการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษา มาเรียนให้ทุกท่านได้ทราบ โดยเฉพาะ "แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ซึ่งเกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง ดังมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางการปฏิรูปเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐานในคณะกรรมาธิการการศึกษา และกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการ ศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพ โดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ 1) การศึกษาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของชาติ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ความเสมอภาคของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และทุกคนมีโอกาสพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 3) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่
แนวทางการปฏิรูปเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญ 8 ประการ ได้แก่
- ปัญหาผู้เรียนอ่านและเขียนไม่คล่อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากรูปแบบการสอน
ตำรา สื่อการสอนไม่น่าสนใจ ครูโยกย้ายบ่อย ยกเลิกรับครูระดับประถมศึกษา และขาดการเตรียมความพร้อมของครูระดับปฐมวัย โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการกำหนดความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับต่างๆ
ต่อการอ่านและเขียนของผู้เรียน ปรับนโยบายการประเมินผลสถานศึกษาให้สอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษาและพื้นที่
มีการพัฒนาสื่อตำราและรูปแบบการสอน และการผลิตและรับครูระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาที่มีคุณภาพ
- การให้ความช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กและชายขอบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้เรียนในโรงเรียนเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าเด็กทั่วไป
ครูขาดแรงจูงใจในการทำงาน และขาดครูด้านการศึกษาพิเศษ โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการสร้างเครือข่ายอุดมศึกษาในการสอน
(Coaching) ในโรงเรียน โดยมีการสนับสนุนทรัพยากรให้กับสถาบันอุดมศึกษา
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ตลอดจนผลิตและบรรจุครูด้านการศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้น
- การบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรการศึกษาตามความจำเป็น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวเท่ากันทั่วประเทศ
เกิดช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ รวมทั้งการประเมินผลเพื่อตัดสินคุณภาพ
โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของโรงเรียนเพิ่มเติมจากการอุดหนุนราย
หัว การปรับเปลี่ยนการประเมินสถานศึกษาให้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาและสนับสนุน งบประมาณในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
การพัฒนาสื่อดิจิทัล การเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยี
- ระบบการผลิตและพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการผลิตครูที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
ขาดแรงจูงใจให้ครูมีคุณภาพไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โครงสร้างและบทบาทองค์กรสภาวิชาชีพครูไม่ตอบโจทย์การศึกษา
การโยกย้ายครูและผู้บริหารบ่อยครั้ง การอบรมและงานประกันคุณภาพมีปริมาณมากเกินไป รวมทั้งการสอบบรรจุครูไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง
คัดเลือกสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพในการผลิตครู กระจายอำนาจการบรรจุครูสู่ท้องถิ่น
การปรับปรุงระเบียบสภาวิชาชีพเพื่อให้บุคลากรในสาขาขาดแคลนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้สะดวกขึ้น
ตลอดจนการปรับเปลี่ยนระบบการเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารแทนการสอบ
- การกำหนดผู้รับผิดชอบระดับชาติและท้องถิ่นเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษามีความเชื่อมโยงและต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความเชื่อมโยงของหน่วยงานต่างๆ
ในการจัดการศึกษา เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะระดับปฐมวัย
นอกจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีผู้รับผิดชอบในภาพรวมที่จะเชื่อมโยงให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
ไม่ซ้ำซ้อนกัน
โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการกระจายอำนาจและงบประมาณอย่างเป็นเอกภาพ
โดยการจัดตั้งสภาการศึกษาระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาในแต่ละระดับ
ให้อำนาจในการกำหนดรูปแบบและบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษามากขึ้น
- การส่งเสริมให้มีการสอนทักษะการทำงานและให้ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่านิยมของผู้เรียนและผู้ปกครองในการเรียนต่อสายสามัญและอุดมศึกษา
ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงานในระดับอาชีวศึกษา โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการส่งเสริมการสอนทักษะการทำงานและอาชีพในสายสามัญ
สร้างระบบแนะแนวที่มีคุณภาพ เพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช.
และ ปวส. ปรับโครงสร้างให้การดูแลสถาบันอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนอยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวกัน
ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนทางต้นทุนการผลิตบุคลากร
- การปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนการสอน ซึ่งมีสาเหตุมาจากครูขาดความรู้ในการนำหลักสูตรการเรียนการสอนไปใช้หรือการออกแบบการเรียนรู้
รวมทั้งโครงสร้างหน่วยงานทำให้การบริหารจัดการและการประกันคุณภาพหลักสูตรถูกลดความสำคัญลง โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ เสนอให้มีการจัดหลักสูตรที่เน้นความรู้พื้นฐาน
เพิ่มการลงมือปฏิบัติ การงานอาชีพ ทักษะการคิดที่สร้างสรรค์ ความคิดเชิงวิพากษ์ และการเป็นพลเมืองโลก
รวมทั้งปรับโครงสร้างให้มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจน
- การจัดการฐานข้อมูลด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
ตลอดจนถึงการศึกษา กระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน และยังขาดความเชื่อมโยง
ทำให้ข้อมูลบางส่วนขาดหาย บางส่วนมีความซ้ำซ้อน และบางส่วนไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
โดยมีแนวทางการแก้ปัญหา คือ จัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อจัดทำรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการต่อไป.